(อย.ไทย/ถูกมาก) สายดูดเสมหะ PHENOMA Suction Catheter ชนิด มีคอนโทรล เบอร์ 10/12/14 แพ็ค50/100ชิ้น มาตรฐาน ISO13485
สายดูดเสมหะ ฟีโนมาร์ PHENOMA Suction Catheter ชนิด มีคอนโทรล
: สาย Suction แบร์น PHENOMA ถูกออกแบบมาให้ ยืดหยุ่นต่อการสอดเข้าร่างกายเพื่อลดการระคายเคืองผิวสัมผัส เพื่อให้ขณะที่ใช้งาน ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยที่สุด
ทำจากซิลิโคน PVC Medical grade ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยระบบ EO Gas และได้มาตรฐาน ISO13485 ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขไทย
🔴 เลขที่จดแจ้งเครื่องมือแพทย์ : 66-2-2-2-0014597 🔴
✅ ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขไทย ✅
✔️ มี Control สำหรับควบคุมแรงดูดสุญญากาศ
✔️ วัสดุ Soft PVC medical grade material
✔️ กำจัดเชื้อด้วย Ethylene Oxide Gas (E.O.Gas)
✔️ สายดูดเสมหะ ฟีโนมาร์ มีมาตรฐาน ISO13485
📂 วัตถุประสงค์การใช้งาน 📂
เพื่อขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจส่วนบน
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอขับเสมหะ
ป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าปอด
เพื่อการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
📂 คุณสมบัติทั่วไป 📂
สายดูดเสมหะชนิด คอนโทรล เบอร์ 10/12/14
วัสดุทำมาจาก soft PVC medical grade material
สายมีความยาว 50 ซม.(วัดเฉพาะตัวสาย)
ฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide Gas (E.O.Gas)
มีแบบแพ็ค 50 และ 100 เส้น
สายดูดเสมหะชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ไม่ควรใช้สายดูดเสมหะหากบรรจุภัณฑ์ชำรุด
ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องและไม่อับชื้น
✏️ สายดูดเสมหะ (Sputum Suction Tube) อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดเสมหะ ใช้ร่วมกับเครื่องดูดเสมหะ ซึ่งการดูดเสมหะก็คือการใช้สายยางดูดเสมหะที่ปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางจมูก ปาก หรือใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจเพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถไอหรือขับเสมหะออกมาได้เอง ตลอดจนใช้เพื่อเก็บตัวอย่างส่งให้ห้องปฏิบัติการ
⁉️ เลือกขนาดสายดูดเสมหะยังไงดีนะ 🤔 ⁉️
✏️ การเลือกสายยางดูดเสมหะจะต้องเลือกให้เหมาะสม โดยวัดจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกสายยางดูดเสมหะ สำหรับการดูดเสมหะที่เหมาะสม คือ ไม่ควรเกิน ½ ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อเจาะคอ
✏️ สายยางดูดเสมหะเบอร์ 14-16 Fr. เหมาะสำหรับผู้ใหญ่และสายยางดูดเสมหะเบอร์ 8-10 Fr. เหมาะสำหรับเด็ก ทั้งนี้ต้องเลือกสายยางดูดเสมหะให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ อย่างเช่น หากเลือกสายยางดูดเสมหะขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดช่องว่างของท่อหายใจลดลงจนไม่เพียงพอ ทำให้อากาศภายนอกถูกไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ถูกดูดออก
⚠️ ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ ⚠️
◽ การระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ขณะใส่สายดูดเสมหะให้เปิดด้านหนึ่งของตัวต่อเพื่อป้องกันการดูดอากาศออกมากเกินไป และเมื่อสายดูดเสมหะเข้าไปถึงที่ต้องการ จึงปิดรู เพื่อให้เกิดแรงดูด ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบๆ และค่อยๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา
◽ ถ้าเสมหะเหนียวมาก ให้หยดน้ำเกลือ (normal saline solution) ประมาณ 3-5 มิลลิลิตร ลงไปในท่อหลอดลม ช่วยละลายเสมหะให้อ่อนตัวลง ทำให้ดูดเสมหะออกได้ง่าย
◽ ภาวะขาดออกซิเจน ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนก่อนดูดเสมหะทุกครั้งประมาณ 30 วินาทีถึง 2 นาที หรือบีบถุงลมช่วยหายใจ (Ambu bag) ต่อออกซิเจน 3-6 ครั้ง และให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะอีกครั้งนานประมาณ 1-5 นาที หรือบีบ Ambu bag เพื่อช่วยขยายปอด ป้องกันภาวะปอดแฟบ
◽ ภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) จากการดูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดังนั้นควรดูดเมื่อมีเสมหะหรือเมื่อจำเป็น การดูดแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 5-10 วินาที และห่างกันประมาณ 3 นาที
📏 ตอนนี้จะมี 3 ขนาดให้เลือก ดังนี้เลย
◽ สายดูดเสมหะ เบอร์ 10
◽ สายดูดเสมหะ เบอร์ 12
◽ สายดูดเสมหะ เบอร์ 14
🟢 เลขที่จดแจ้งเครื่องมือแพทย์ : 66-2-2-2-0014597 🟢
🌟 ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขไทย ✅
#xpertmedical #phenoma #suction #สายดูดเสมหะ #สายดูดเสมหะแบบมีcontrol #สายsuction